Facsimile อ่านว่า แฟก-สิ-มี-ลี่ หรือทราบกันโดยทั่วไปว่า Fax machine คำว่า Facsimile มาจากภาษาละติน " Fac simile " แปลว่าทำให้เหมือน "make similar " เช่นการทำสำเนา ( make a copy ) เป็นเทคโนโลยีการโทรคมนาคม ( Telecommunications ) ในการส่งสำเนา ( copies หรือ facsimiles )เอกสาร ( documents ) โดยผ่านเครือข่ายระบบโทรศัพท์ ( Telephone network ) อาจใช้คำว่า Telefax ก็ได้เครื่องโทรสาร ( Fax machine ) คือเครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในการส่งเอกสารที่อาจจะเป็นภาพหรือตัวอักษรหรือทั้งสองอย่างพร้อมกันโดยส่งสัญญาณผ่านสายโทรศัพท์ (phone line ) โดยใช้ตัวสแกนภาพ (Image scanner ) Modem และ Printer ขั้นตอนคือตัวสแกนภาพ (Image scanner) จะเปลี่ยนภาพและตัวอักษรให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล ( Digital image) ตัว modem จะเป็นตัวส่งสัญญาณดิจิตอล ( Digital data ) ผ่านไปทางสายโทรศัพท์ (Phone line ) สุดท้าย printer ที่ปลายทางหรือผู้รับจะพิมพ์ภาพหรือตัวอักษรในรูปของเอกสารออกมาเป็นขั้นตอนสุดท้าย Alexander Bain ชาวสก็อตเป็นคนแรกที่ได้รับสิทธิบัตรเครื่องโทรสารในปี ค.ศ. 1843 โดยใช้ความรู้ในเรื่องของ Electric clock pendulums ในการสร้างภาพที่ละเส้น ( Line-by-line scanning mechanism ) เครื่องโทรสารเครื่องแรกออกแบบขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1843 ซึ่งโทรสารก็ได้รับความนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในงานภาพหนังสือพิมพ์มาตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ.1925 และในบางธุรกิจเริ่มในราวทศวรรษ 1960 ในทศวรรษ 1980 ระบบการให้รหัสอันหลักแหลมโดยอาศัยไมโครโพรเซสเซอร์ได้รับการพัฒนาขึ้นมาทำให้สามารถสร้างเครื่องโทรสารที่ทำงานรวดเร็วและราคาไม่แพงใช้ในงานส่งผ่านภาพกราฟิกไปทางสายโทรศัพท์ธรรมดาลักษณะพิเศษของโทรสารคือความสามารถที่จะตัดปัญหาเรื่องเวลาสากลและข้อขีดกั้นทางภาษาภาพถูกส่งมาอย่างช้าๆและผู้รับก็จะแปลภาษาต่างประเทศได้อย่างสบายโทรสารเป็นที่นิยมกันมากในประเทศญี่ปุ่นเนื่องจากระบบการเขียนไม่เหมาะกับการส่งด้วยรูปแบบอื่น มาตรฐานของเครื่องโทรสารมีอะไรบ้าง ? เราเคยได้ยินคำว่า Double standards กันมาบ้างแล้ว ความหมายก็ คือ มี 2 มาตรฐานนั้นเอง หากเครื่องโทรสารที่เราใช้อยู่นี้ มี 2 มาตรฐาน คงจะสับสนวุ่นวายน่าดูเหมือนกัน ทำไมเครื่องโทรสารต้องมีมาตรฐานด้วย คำตอบคือ หากเครื่องโทรสาร มี 2 มาตรฐาน แต่ละบริษัทก็จะเลือกผลิต มาตราฐานใดมาตรฐานหนึ่ง เมื่อเราต้องการจะซื้อเครื่องโทรสารไปใช้ซักเครื่องนอกจากจะเลือกยี่ห้อแล้วก็ต้องมาเลือก มาตรฐานของแต่ละยี่ห้ออีก ซึ่งเป็นเรื่องที่สับสนพอสมควร ดังที่บอกตั้งแต่แรก ดังนั้นจึงมีองค์กรๆหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมา เพื่อกำหนดมาตรฐานของเครื่องโทรสาร ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน คือ CCITT ชื่อเต็มว่า ( CONSULTATIVE COMMITTEE INTERNATION TELEGRAPH AND TELEPHONE ) หรือ ITU-T ชื่อเต็มว่า( THE INTERNATIONAL TELECOMMUNICATIONS UNION ) เมื่อมีการกำหนดมาตรฐานกันแล้ว ลำดับการพัฒนาและระดับความสามารถของเครื่องโทรสารแบ่งออกได้เป็น4 กลุ่ม ด้วยกัน เครื่องโทรสารยุคแรกๆ เราเรียกว่าเครื่อง GROUP 1 ( G1)เริ่มใช้เมื่อ 30 ปี ที่แล้วโน้นคือปี พ.ศ. 2515 ส่งเอกสารมาตรฐาน 1 แผ่น ใช้เวลา 6 นาที ช้ามากเลยเพราะเป็นเครื่องรุ่นแรกที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมา ยังไม่ทันเห็นรุ่น G1 นี้ว่าหน้าตาเป็นอย่างไร หลังจากนั้นอีก 4 ปีต่อมา ไดัพัฒนามาเป็น GROUP 2 ( G2 ) คือ ปี พ.ศ.2519 ส่งเอกสารขนาดมาตรฐาน 1 แผ่นใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที เร็วกว่ารุ่นแรก ครึ่งต่อครึ่ง นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มระบบต่างๆขึ้น เช่น รับเอกสารเองอัตโนมัติ,ส่งเอกสารหน้ากว้างขึ้นเดิมได้แค่ A4 เพิ่มเป็น B4,A3 และมีระบบการป้อน กระดาษอัตโนมัติ ( ADF ) คือสามารถส่งเอกสารครั้งละหลายๆแผ่น รุ่นนี้ยังเห็นอยู่ แต่เกือบจะตกรุ่นแล้ว คุณสมบัติโดยส่วนใหญ่ เครื่องมีทั้ง G2และG3 ด้วย เพื่อรับมาตรฐาน G3 ที่จะตามมา หลังจากนั้นอีก 4 ปี คือ ปี พ.ศ.2523ได้พัฒนามาเป็นGROUP 3 ( G3 ) ส่งเอกสารขนาดมาตรฐาน 1 แผ่นใช้เวลาประมาณ 1 นาที ถ้าเราเดินดูตามห้าง แผนกเครื่องใช้ สำนักงานจะพบแต่ G3 ซึ่งปัจจุบันจะใช้เป็นส่วนใหญ่ หลังจากนั้นอีก 4 ปีต่อมา คือ ปี พ.ศ.2527 ไดัพัฒนามาเป็นGROUP 4 ( G4 ) มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมาก ส่งเอกสารขนาดมาตรฐาน 1 แผ่นใช้เวลาเพียง 3-5 วินาที เท่านั้น แต่ยังไม่เป็นที่แพ่รหลาย เพราะต้องใช้กับโทรศัพท์ระบบ ISDN( INTEGRAD SERVICE DIGITAL NETWORK ) ซึ่งเป็นเครือข่ายระบบ DIGITAL คิดว่าอนาคตอันใกล้นี้ เราคงจะเห็นเครื่องโทรสารระบบ DIGITAL นำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ถึงเวลานั้นเราอาจจะได้เห็นการพัฒนาถึงขั้นเป็นเครื่องโทรสารสี ที่มีการรับและส่งข้อมูลที่เป็นข้อความหรือรูปภาพที่เป็นสีมาใช้กัน
ส่วนประกอบของเครื่องโทรสารก็จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนใหญ่ด้วยกัน คือ เครื่องแสกนเอกสาร, เครื่องพิมพ์เอกสาร และเครื่องรับ-ส่งข้อมูล ครับ พูดง่ายๆก็คือ เครื่องโทรสารคือ เครื่องถ่ายเอกสาร+โมเด็ม นั่นเอง