2552/05/22

การอ่านรหัสสีคู่สายโทรศัพท์

แม่สี ขาว1 แดง2 ดำ3 เหลือง4 ม่วง5
ลูกสี น้ำเงิน1 ส้ม 2 เขียว 3 น้ำตาล4 เทา5 http://www।grandgroups।com/pdlist।php?subCatID=195

2552/05/05

ศัพท์ไอที

ศัพท์ไอที(IT)น่ารู้:Application
Application

ในเทคโนโลยีสารสนเทศ
Application เป็นการใช้เทคโนโลยีระบบ หรือผลิตภัณฑ์
คำศัพท์
Application เป็นคำย่อของ application program หรือโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งโปรแกรมประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบให้ทำงานด้วยหน้าที่ที ่เจาะจงโดยตรงสำหรับผู้ใช้ หรือในบางกรณี สำหรับโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ ตัวอย่าง ของโปรแกรมประยุกต์ เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing เช่น MS Word) ฐานข้อมูล web browser เป็นต้น โปรแกรมประยุกต์ใช้บริการจากระบบปฏิบัติการและโปรแกร มประยุกต์อื่น ๆ ส่วนการขอและวิธีการตามแบบแผนของการติดต่อกับโปรแกรม อื่นด้วยการใช้โปรแกรมประยุกต์อื่น เรียกว่า application program interface (API)
ActiveX
ActiveX เป็นชื่อที่ Microsoft ตั้งให้กับกลุ่มของเทคโนโลยี object - oriented programming และเครื่องมือหลักของเทคโนโลยีนี้ คือ Component Object Model (COM) เมื่อใช้ในระบบเครือข่ายด้วยไดเรคทอรี และการสนับสนุนเพิ่มเติมทำให้ COM เปลี่ยนมาเป็น Distributed Component Object Model (DCOM) ซึ่งสำคัญในการสร้าง เมื่อเขียนโปรแกรมใช้สภาพแวดล้อมของ ActiveX คือ component ซึ่งโปรแกรมจะเพียงพอในตัวเอง ซึ่งสามารถเรียกใช้ในทุก ๆที่ ของเครือข่าย ActiveX (โดยเป็นเครือข่ายของระบบ windows และ Macintosh) โดย component รู้จักในชื่อของ ActiveX control นอกจากนี้ ActiveX เป็นคำตอบของ Microsoft ต่อ เทคโนโลยี Java จาก Sun Microsystems และ ActiveX control สามารถเปรียบเทียบโดยคร่าว ๆ ได้กับ Java applet

ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ
Windows จะสังเกตเห็นไฟล์ใน windows ที่มีสกุล "OCX" ซึ่ง OCX ใช้สำหรับ Object linking and embedding control โดย Object linking and Embedding (OLE) เป็นเทคโนโลยีของ Microsoft ที่ใช้กับระบบเอกสารแบบ compound document เช่น window desktop นอกจากนี้ Component Object Model ได้เป็นส่วนของ OLEในฐานะเป็นส่วนที่อยู่ในแนวคิดที่กว้างกว่า Microsoft ใช้ศัพท์ ActiveX control " แทนที่ OCX สำหรับอ๊อบเจคแบบ component

ความได้เปรียบประการหนึ่ง ของ
component คือ สามารถใช้ใหม่ได้โดยโปรแกรมประยุกต์ (ด้วยการอ้างอิง component แบบ container ) ส่วนอ๊อบเจค COM (ActiveX control) สามารถสร้างได้หลายภาษา หรือ เครื่องมือพัฒนา เช่น C++, Visual Basic หรือ Power Builder หรือคำสั่งสคริปต์ VBScript

ปัจจุบัน
ActiveX control สามารถใช้กับ Windows 95/98/NT และ Macintosh ซึ่ง Microsoft มีแผนในพัฒนา ActiveX control สำหรับ UNIX

Adapter
adapter เป็นอุปกรณ์กายภาคที่ยอมให้ฮาร์ดแวร์ หรืออุปกรณ์ด้านอีเลคโทรนิคส์ต่อเข้ากับฮาร์ดแวร์ หรืออุปกรณ์ด้านอีเลคโทรนิคอื่น โดยไม่สูญเสียการทำงาน ในคอมพิวเตอร์ adapter มักจะทำเป็นการ์ด ที่สามารถเสียบเข้ากับเมนบอร์ด โดยข้อมูลของการ์ดสามารถแลกเปลี่ยน กับไมโครโพรเซสเซอร์ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆที่การ์ดนั้น สนับสนุนการทำงาน


AGP (Accelerated Graphic Ports)
AGP (Accelerated Graphic Ports) เป็นข้อกำหนดของอินเตอร์เฟซ บนแฟลตฟอร์ม ของบัส ซึ่งมีสมรรถนะทางด้านกราฟฟิกสูง เพื่อทำให้สามารถแสดงภาพกราฟฟิก 3 มิติ ได้รวดเร็วบน เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เช่น ภาพจาก Web Site หรือ ซีดี-รอม ทำให้ การแสดงภาพบนจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เร็วและเรียบกว่า

ตัวอินเตอร์เฟซ จะใช้
RAM เพื่อ Refresh ภาพบนจอและสนับสนุน Texture mapping, Z-buffering และ alpha blending ซึ่งต้องการภาพกราฟฟิก 3 มิติ การใช้หน่วยจำหลัก (VDO AGP) เป็นแบบไดนามิค หมายความว่า เมื่อไม่ได้ใช้ Accelerated Graphic หน่วยความจำหลักจะได้รับการ ใช้โดยระบบปฏิบัติการ หรือการประยุกต์อื่นๆ

Intel เป็นผู้นำในการพัฒนา โดยเริ่มนำ AGP มาใช้กับ Chipset กับไมโครโพรเซสเซอร์ รุ่น Pentium II รวมถึง ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นใหม่ ๆ ของ Intel ซึ่ง AGP ได้รับการออกแบบให้ ทำงานกับ AGP chipset โดย Intel กล่าวว่า หน่วย floating point และแคชที่เร็วกว่า ทำให้ Pentium สามารถยกระดับการประยุกต์ด้านกราฟฟิก 3 มิติ

Asychronous Transfer Mode (ATM)
ATM หมายถึง เครื่องอัตโนมัติ (automatic teller machine) ด้วย
Asychronous Transfer Mode (ATM) เป็นเทคโนโลยีแบบ dedicated - connection switching ที่ จัดการข้อมูลดิจิตอล เป็นหน่วยเซลล์ขนาด 53 ไบต์ และส่งผ่านตัวกลางทางกายภาคโดยใช้เทคโนโลยีสัญญาณดิจ ิตอล โดยปกติเซลล์จะประมวลผล asynchronous อย่างสัมพัทธ์กับเซลล์อื่น และจัดแถวคอยก่อนการผสมความถี่ในเส้นทางการส่งผ่าน เนื่องจาก ATM ได้รับการออกแบบให้ทำงานกับฮาร์ดแวร์ได้ง่าย การประมวลเร็วกว่า และความเร็วในการสับเปลี่ยน อัตราข้อมูลเบื้องต้นอยู่ระหว่าง 155.520 ถึง 622.080 Mbps ความเร็วบนเครือข่าย ATM สามารถมีความเร็วถึง 10 Gbps พร้อมด้วย ระบบเครือข่ายแบบ Synchronous Optical และเกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ ATM เป็นองค์ประกอบหลักของ broad band ISDN

ATX
ATX เป็นข้อกำหนดหรือสเป็ค (Specification) เปิดสำหรับแผ่นเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้ง โต๊ะ ปัจจุบันใช้เวอร์ชัน 2.0 (ธันวาคม 1996)
ATX ปรับปรุงการออกแบบเมนบอร์ดจากข้อกำหนดแบบ AT โดยเปลี่ยนตำแหน่งไมโครโพรเซสเซอร์ และ expansion slot ไป 90 องศา เพื่อทำให้มีพื้นที่ว่างในการเพิ่มการ์ด เพิ่มความสูงให้สามารถเพิ่มอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น TV input/output, การต่อ LAN เป็นต้น ทำให้การใช้สายต่อลดลง power supply มีพัดลมแบบติดตั้งด้านข้าง เพื่อทำให้สามารถระบายความร้อนของ ไมโครโพรเซสเซอร์และการ์ดโดยตรง ซึ่งเวอร์ชัน 2.0 ได้ปรับปรุงส่วนของ chassis และ power supply

Audio
audio เป็นเสียงภายในช่วงการได้ยินของคน ความถี่ audio เป็นไฟฟ้ากระแสสลับภายในช่วง 20 ถึง 20,000 hertz (รอบต่อวินาที) ในคอมพิวเตอร์ audio เป็นระบบเสียงที่มากับคอมพิวเตอร์หรือเพิ่มเข้าไป การ์ด audio ประกอบด้วยตัวประมวลผลพิเศษและหน่วยความจำ สำหรับการประมวลผลไฟล์และส่งไปที่ลำโพง เสียงเป็นสัญญาณแบบอะนาล็อก ซึ่งแปลงเป็นดิจิตอล โดยการ์ด audio โดยใช้ตัวประมวลผลแบบ analog-to-digital เมื่อมีการใช้เสียงสัญญาณดิจิตอลจะส่งไปยังลำโพง ซึ่งจะมีการแปลงกลับไปเป็นสัญญาณอะนาล็อกให้เป็นเสีย งอีกครั้งหนึ่ง
ไฟล์
audio มักจะถูกบีบอัด (compression) สำหรับการเก็บหรือการส่งที่เร็วกว่า ไฟล์ audio สามารถส่งเป็นไฟล์เดียว เช่น ไฟล์ wave เพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้ได้รับเสียงแบบ real time ในการฟังดนตรี หรือการประชุมแบบ Video conference สำหรับการ์ด audio แบบพิเศษที่สนับสนุน wave table ส่วนรูปแบบ ของไฟล์ audio ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือ MP3 (MPEG-1 Audio Layer - 3)

(
BIOS) Basic Input/Output System
Basic Input/Output System (BIOS) เป็นโปรแกรมที่ไมโครโพรเซสเซอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร ์ส่วนบุคคล ใช้ในการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานเพื่อเปิดเคร ื่อง และทำหน้าที่บริหารการไหลของข้อมูล ระหว่างระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ กับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ เช่น ฮาร์ดดิสก์ คีย์บอร์ด เมาส์ เครื่องพิมพ์เป็นต้น

BIOS เป็นส่วนที่รวมอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (แตกต่างจากระบบปฏิบัติการที่สามารถติดตั้งได้โดยผู้ ผลิต ผู้ขายหรือผู้ใช้เอง) BIOS เป็นโปรแกรมที่ไมโครโพรเซสเซอร์ เข้ามาใช้งานโดยที่ได้รับการโปรแกรมจากชิป erasable programmable read-only memory (EPROM) เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโพรเซสเซอร์ จะสั่งการควบคุมให้กับโปรแกรม BIOS (ซึ่งจะอยู่บน EPPOM เสมอ)

เมื่อ
BIOS บู๊ตเครื่อง สิ่งแรกคือการตรวจอุปกรณ์ที่ต่อไว้ตามตำแหน่งที่ระบุ ุและทำการโหลดระบบปฏิบัติการ ไปที่หน่วยความจำชั่วคราว (RAM) จากฮาร์ดดิสก์หรือดิสก์เก็ต

ระบบปฏิบัติการและโปรแกรม จะทำงานได้ภายหลังที่
BIOS ได้ทำการตรวจสอบถึงอุปกรณ์ทั้งด้านนำเข้า (input) และส่งออก (output) อย่างถูกต้อง เมื่อมีการเปลี่ยนรายละเอียดของอุปกรณ์จะต้องเปลี่ยน ข้อมูลที่โปรแกรม BIOS บางครั้งการเปลี่ยนสามารถทำได้ระหว่างการตั้งค่าของร ะบบ ในบางกรณีการเปลี่ยนจะต้องเปลี่ยนที่ระบบปฏิบัติการ หรือโปรแกรมประยุกต์ด้วย
ถึงแม้ว่าในทางทฤษฎี
BIOS จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างไมโครโพรเซสเซอร์กับอ ุปกรณ์ I/O เพื่อควบคุมสารสนเทศ และการไหลของข้อมูล ในบางกรณี BIOS สามารถจัดการให้ข้อมูลไหลตรงไปที่หน่วยความจำจากอุปก รณ์ได้ เช่น การ์ดวิดีโอ เพื่อทำให้การไหลของข้อมูลเร็วขึ้น


Bus
"
Bus" หรือ "บัส" คือเส้นทางรับ-ส่งสัญญาณ ทั้งข้อมูลและคอนโทรล ที่เชื่อมถึงอุปกรณ์ทุกๆชิ้นในเครื่องคอมพิวเตอร์หรื อเน็ตเวิร์ค เมื่อมีการส่งสัญญาณข้อมูล เฉพาะอุปกรณ์ที่ถูกแอดเดรสหรือระบุไว้เท่านั้นจึงจะร ับข้อมูลก้อนนั้นได้

ในเครื่องคอมพิวเตอร์ บัสจะหมายถึง เส้นทางข้อมูลที่เชื่อมระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับอุ ปกรณ์ที่เสียบเข้ากับสล็อตต่างๆ
บนเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ
, ซีดีรอมไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด และกราฟิกการ์ด เป็นต้น

bit (บิต) binary digit
bit (หรือบิต) เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลในคอมพิวเตอร์ bit มีค่าเป็นเลขฐานสองเดี่ยว คือ 0 หรือ 1 ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์มีคำสั่งที่สามารถทดสอบและควบคุ ม bit ซึ่งโดยทั่วไปมีการออกแบบในการเก็บข้อมูลและประมวลผล คำสั่งแบบหลายบิตที่เรียกว่า Byte (ไบต์) ในระบบคอมพิวเตอร์ส่วนมากมี 8 บิตต่อ 1 ไบต์ ค่าของ bit ได้รับเก็บแบบสูงกว่าหรือต่ำกว่า designate level การชาร์จไฟฟ้าในคาปาซิเตอร์ภายในหน่วยความจำครึ่งของ ไบต์ (บิต) เรียกว่า nibble ในบางระบบคำว่า octet ใช้สำหรับหน่วยขนาด 8 บิต แทนที่ byte ในหลายระบบ ไบต์ขนาด 8 บิต 4 ไบต์ หรือ 4 octet สร้างเป็น 32-bit word ระบบแบบนี้ความยาวของคำสั่งบางครั้งแสดงเป็น full-word (ความยาว 32 บิต) หรือ half-word (ความยาว 16 บิต) ในระบบโทรคมนาคม bit rate เป็นจำนวนของบิตที่ส่งผ่านในช่วงเวลาหนึ่งปกติเป็น 1 วินาที

C++
C++ เป็นภาษาแบบ object-oriented programming (OOP) ที่ดีที่สุด ในการสร้างโปรแกรมประยุกต์ขนาดใหญ่ และ C++ เป็นภาษา C ระดับสูง

Java เป็นภาษาโปรแกรมที่มีพื้นฐานมาจากภาษา C แต่ได้รับพัฒนาให้เหมาะสม สำหรับการกระจายโปรแกรมอ๊อบเจคบนเครือข่าย เช่น อินเตอร์เน็ต ภาษา Java เป็นภาษาที่ง่ายกว่า C++ และมีคุณลักษณะที่เหนือกว่าภาษา C++ แต่ภาษาทั้งสองสามารถศึกษาร่วมกัน

CD-RW
CD-RW (ย่อมาจาก compact disc, rewriteable) เป็นประเภทของรูปแบบคอมแพ็คดิสก์ที่ยอมให้บันทึกหลาย ครั้ง (worm) ที่ยอมให้บันทึกบนซีดี 1 ครั้ง รูปแบบ CD-RW ได้รับการแนะนำโดย Hewlett-Packard, Mitsubishi, Philips, Ricoh และ Sony ในเอกสารข้อกำหนดของพวกเขาในปี 1997 หรือ Orange Book ก่อนการออกวาง Orange Book ซีดีเป็นการอ่านเฉพาะ audio (CD-Digital Audio, อธิบายใน Red Book) ที่เล่นได้ในเครื่องเล่นซีดีและมัลติมีเดีย (CD-ROM) หรือเล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์ในไดร์ฟ CD-ROM หลังจาก Orange Book ผู้ใช้สามารถสร้างซีดีของตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร ์ตั้งโต๊ะ ไดร์ฟ CD-RW สามารถเขียนได้ทั้งดิสก์ CD-R และ CD-RW รวมทั้งสามารถอ่านซีดีทุกประเภท

เหมือนกับซีดีปกติ (รูปแบบต่างๆทั้งหมดที่มีพื้นฐานจาก
Red Book CD-DA ดั้งเดิม) CD-R และ CD-RW ประกอบด้วยพลาสติกโพลีคาร์บอเนต เคลือบโลหะสะท้อนแสง และเคลือบชั้นป้องกันภายนอก CD-R เป็นการเขียนครั้งเดียว อ่านหลายครั้ง ซึ่งชั้นสีโพลีเมอร์อินทรีย์ระหว่างโพลีคาร์บอเนตกับ ชั้นโลหะทำหน้าท่เป็นชั้นบันทึก ส่วนประกอบของสีเป็นการปรับแปลงถาวรที่เกิดจากความถี ่แสงเฉพาะ ใน CD-RW สีได้รับการแทนที่ด้วยอัลลอยที่เปลี่ยนกลับและไปข้าง หน้าจากรูปแบบ crystalline เมื่อตากกับแสงเฉพาะ ผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า optical phase change แบบแผนที่สร้างแยกได้น้อยกว่ารูปแบบซีดี จึงต้องการอุปกรณ์อ่อนไหวสำหรับการเล่นกลับ มีเฉพาะไดร์ฟ "MultiRead" ที่สามารถอ่าน CD-RW อย่างน่าเชื่อถือ

CD-RW ทำมาจากโพลีคาร์บอเนตที่ขดร่องที่บากไว้ก่อนช่วยนำเล เซอร์ คล้ายกับ CD-R ส่วนอัลลอยที่เปลี่ยนเป็นชั้นบันทึก ซึ่งตามปกติผสมด้วยเงิน อินเดียม แอนติโมนี และเทลลูเรียม เป็นแซนวิชระหว่างชั้น dielectric 2 ชั้นที่เขียนด้วยความร้อนจากชั้นการบันทึก หลังจากได้รับความร้อนที่อุณหภูมิเฉพาะ อัลลอยจะกลายเป็น crystalline เมื่อเย็นลง หลังจากให้ความร้อนไปที่อุณหภมิสูงกว่า จะกลายเป็นอสัญฐาน (ไม่เป็นรูปร่าง) เมื่อเย็นลง โดยการควบคุมอุณหภูมิของเลเซอร์ พื้นที่ crystalline และ non-crystalline ได้รับการจัดรูป พื้นที่ crystalline จะสะท้อนเลเซอร์ ขณะที่พื้นที่อื่นจะดูดซับ ความแตกต่างได้รับลงทะเบียนเป็นข้อมูลไบนารีที่สามาร ถถอดรหัสสำหรับการเล่นกลับ การลบหรือเขียนทับข้อมูลที่บันทึก ใช้เลเซอร์อุณภูมิสูง ซึ่งผลลัพธ์ในรุปแบบ non-crystalline ที่สามารถจัดรูปแบบใหม่โดยเลเซอร์อุณภูมิต่ำ

ตามปกติดิสก์
CD-R เก็บข้อมูลได้ 74 นาที (650 MB) ถึงแม้ว่าบางรุ่นสามารถเก็บได้ 80 นาที (700 MB) และบางรายงานกล่าวว่าสามารถเขียนใหม่ได้ถึง 1,000 ครั้ง ด้วยซอฟต์แวร์เขียนแพ็คเก็ต และไดร์ฟ CD-RW ที่สอดคล้องกัน จึงเป็นไปได้ในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ CD- RW ในวิธีเดียวกับการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ฟล๊อปปี้ดิสก์ เครื่องบันทึกซีดี (ปกติ เรียกว่า CD burners) เคยมีราคาแพงมากสำหรับการใช้ภายบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ราคาเท่าไดร์ฟ CD-ROM



Cache Memory
Cache Memory หรือ Cache หรือ หน่วยความจำแคช หรือ แคช คือหน่วยความจำแรม (RAM) ซึ่งไมโครโปรเซสเซอร์หรือโปรเซสเซอร์แกนหลัก (Core Processor) สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (Main Memory) บนระบบคอมพิวเตอร์

กระบวนการประมวลผลข้อมูลของไมโครโปรเซสเซอร์นั้น ขั้นตอนแรกคือการเข้าไปค้นหาข้อมูลในแคชก่อน ซึ่งถ้าเจอข้อมูลที่ต้องการ ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นหาข้อมูลในหน่วยความจำหลักที่ ใหญ่กว่าในระดับถัดออกไป อาทิ
Cache L1, Cache L2, (Cache L3), Memory, Harddisk

บ่อยครั้งที่แคชจะถูกกำกับด้วยระดับความใกล้หรือความ ง่ายในการเข้าถึงโดยไมโครโปรเซสเซอร์

แคชระดับ1 (
Cache L1) คือแคชที่อยู่เป็นเนื้อเดียวกันบนตัวไมโครโปรเซสเซอร ์ สามารถเข้าถึงได้เร็วและง่ายที่สุด

แคชระดับ2 (
Cache L2) คือแคชที่อยู่ห่างออกมาอีกระดับหนึ่ง ก่อนนี้มักนิยมแยกมาไว้บนสแตติกแรม (SRAM) แต่ปัจจุบัน โปรเซสเซอร์เกือบทุกรุ่นจะมีแคช L2 อยู่บนตัวชิป ซึ่งทำให้แคชที่อยู่บนตัวสแตติกแรมกลายเป็นแคชระดับ 3 (Cache L3) ไปโดยปริยาย

ขณะที่หน่วยความจำหลัก (
Memory) จะเป็นไดนามิกแรมหรือดีแรม (DRAM) ที่ปัจจุบันดีดีอาร์-ดีแรม (DDR-DRAM) จะเป็นแบบที่นิยมมากที่สุดและกำลังกลายเป็นมาตรฐานสำ หรับระบบคอมพิวเตอร์

สรุปว่า แคช (
Cache) คือหน่วยความจำขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กับไมโครโปรเซสเซอ ร์ (Core Processor) มากที่สุด เป็นหน่วยความจำที่ไมโครโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้ เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (RAM) บนระบบคอมพิวเตอร์ การเพิ่มขนาดแคชทำให้ระบบสามารถเก็บข้อมูลที่โปรเซสเ ซอร์ต้องใช้ในการประมวลผลได้มากขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบดีขึ้นด้วย

Chipset
"
Chipset" หรือ "ชิพเซ็ต" คือกลุ่มไมโครชิพที่ถูกออกแบบมา เพื่อเชื่อมหรือประสานการทำงานของฟังก์ชั่นต่างๆที่เ กี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น ชิพเซ็ต Intel 430HX สำหรับโปรเซสเซอร์ตระกูลเพนเทียมของอินเทล ซึ่งเป็นชิพเซ็ตที่ใช้ระบบบัส (Bus) แบบพีซีไอ (PCI; Peripheral Component Interconnect) พร้อมหน่วยควบคุม หรือ คอนโทรลเลอร์ (Controller) เชื่อมการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Component) เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, ฮาร์ดไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด, กราฟิกการ์ด, ซีดีรอม ฯลฯ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานร่วมกันได้อย่างมีประส ิทธิภาพสูงสุด, เร็วที่สุด และมีความเสถียรมากที่สุด

Clustering ระบบคลัสเตอร์ หรือคลัสเตอริ่ง หมายถึงการเชื่อมระบบการทำงานของเซิร์ฟเวอร์เข้าด้วย กัน เพื่อเพิ่มกำลังและความสามารถในการประมวลผล ซึ่งอาจเทียบเท่าระดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์หรือสูงกว่า ก็ได้ สำหรับการประมวลผลงานที่มีความซับซ้อน โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ ข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่าย คือถูกกว่าเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์จริงๆ แต่ข้อเสียคือยุ่งยาก

Computer
Computer หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำข้อมูลและคำสั่งได้ ทำให้สามารถทำงานไปได้ โดยอัตโนมัติด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้ประโยชน์ในการคำนวณหรือการทำงานต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิด มี 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ (Main Frame) ขนาดกลาง (Mini Computer) และขนาดเล็กที่กำลังได้รับความนิยมทั่วไปในขณะนี้ เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า พีซี ปัจจุบัน การใช้ระบบเครือข่ายทำให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็ นที่ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ สื่อสารได้ นอกเหนือไปจากการใช้เพื่อการคำนวณตามวัตถุประสงค์ดั้ งเดิมของผู้ประดิษฐ์

CPU
CPU (Central Processing Unit) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) คือ ส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมกา รทำงานของส่วนอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว ซีพียูจะประกอบไปด้วย หน่วยควบคุม (Control Unit), หน่วยประมวลผลคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ (Arithmetic and Logic Unit; ALU) และหน่วยความจำ ได้แก่ รีจีสเตอร์ (Register), แคช (Cache), แรม (RAM) และรอม (ROM)

หน่วยควบคุมจะอ่านคำสั่ง (
Instruction) จากหน่วยความจำ และถอดรหัส (Decode) คำสั่งเหล่านั้นออกมาเป็นสัญญาณที่ใช้ควบคุมส่วนต่าง ๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายรวมถึงการส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างหน่วยความ จำและหน่วยประมวลผลเอแอลยู หรือกระตุ้นการทำงานของอุปกรณ์ประกอบ (Peripheral) เพื่อนำเข้า (Input) หรือส่งออกข้อมูล (Output)

พาราเลลคอมพิวเตอร์ (
Parallel Computer) จะมีซีพียูทำงานร่วมกันอยู่หลายตัว โดยจะมีการใช้งานทรัพยากรหรือรีซอร์ส (Resource) ต่างๆร่วมกันด้วย เช่น หน่วยความจำและเพอริเฟอร์รัล เป็นต้น โปรเซสเซอร์อาจใช้แทน ซีพียูได้ แม้ว่าโดยปกติแล้วจะไม่รวมแรมและรอมเข้าเป็นส่วนหนึ่ งของโปรเซสเซอร์ก็ตาม เช่นเดียวกับไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) รุ่นใหม่ ที่แม้ว่าบางรุ่นอาจรวมแรมและรอมเข้าไว้บนแผ่นวงจรอิ เล็กทรอนิกส์ หรือไอซี (Integrated Circuit; IC) เดียวกัน

Cookie
cookie เป็นสารสนเทศที่เว็บไซต์วางบนฮาร์ดดิสก์ของผู้ใช้ ดังนั้นจึงสามารถจำบางสิ่งเกี่ยวกับผู้ใช้ในเวลาต่อม า (ในทางเทคนิค นี่เป็นสารสนเทศสำหรับการใช้ในอนาคตที่เก็บโดยแม่ข่า ยบนด้านลูกข่ายของการสื่อสาร ลูกข่าย/แม่ข่าย) ตามปกติ cookie บันทึกความพึงพอใจเมื่อใช้ไซต์เฉพาะ การใช้ Hypertext Transfer Protocol (HTTP) ของเว็บ แต่ละคำขอสำหรับเว็บเพจเป็นอิสระจากคำขออื่นทั้งหมด ด้วยสาเหตุนี้ แม่ข่ายเว็บเพจไม่มีการจำว่าเพจใดได้ส่งให้กับผู้ใช้ ก่อนหน้านี้หรือสิ่งอื่นเกี่ยวกับการเยี่ยมก่อนหน้าน ี้ cookie เป็นกลไกที่ยอมให้แม่ข่ายเก็บสารสนเทศของตัวเองเกี่ย วกับผู้ใช้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง ผู้ใช้สามารถดู cookie ที่เก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ (ถึงแม้ว่า เนื้อหาที่เก็บในแต่ละ cookie อาจจะไม่สามารถเข้าใจได้) ตำแหน่งของ cookie ขึ้นกับ browser ใน Internet Explorer เก็บไฟล์ Internet Explorer เก็บ cookie เป็นไฟล์แยกกัน ภายใต้ไดเรคทอรีย่อยของ Windows ใน Netscape เก็บ cookie ทั้งหมดใน cookie.txt ไฟล์เดียว ใน Opera เก็บทั้งหมดในไฟล์ cookie.dat ไฟล์เดียว

cookie เป็นการใช้ทั่วไปการหมุนโฆษณาที่ไซต์ส่งให้ ดังนั้นจะไม่มีการส่งโฆษณาเดียวกันไปยังคำขอเพจที่เส ร็จเรียบร้อย สิ่งเหล่านี้สามารถใช้เจาะจงเพจสำหรับผู้ใช้ตามประเภ ท browser หรือสารสนเทศอื่นที่ผู้ใช้อาจจะให้เว็บไซต์ ผู้ใช้เว็บไซต์ต้องยอมให้ cookie ได้รับการบันทึกสิ่งเหล่านั้น แต่โดยทั่วไปช่วยให้เว็บไซต์บริการผู้ใช้ดีขึ้น

DirectX
DirectX เป็นโปรแกรมประยุกต์แบบอินเตอร์เฟซสำหรับการสร้าง จัดการภาพและมัลติมีเดียเอฟเฟค เช่น การเล่นเกมส์ หรือเว็บเพจแบบ active web page ซึ่งทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการแบบ Windows 95 โปรแกรม DirectX เป็นโปรแกรมที่ติดมากับ Microsoft Internet Explorer 4.0

ส่วนชุดซอฟต์แวร์สำหรับพัฒนา
DirectX (DirectX Software Development kit, SDK) รวมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ เป็นชุดซอฟต์แวร์สำหรับการสร้างภาพ และเอฟเฟคต่าง ๆ รวมถึงเสียง นอกจากยังมีชุด Driver Development kit (DDK) ใช้ในการสร้าง driver สำหรับการแสดงภาพ เสียง และอุปกรณ์ I/O ต่างๆ DirectX เป็นเวอร์ชันใหม่ของไมโครซอฟต์ในการพัฒนาโปรแกรมแบบ Object-oriented programming โดย DirectX ได้รับการออกแบบให้มีบางฟังก์ชันที่สามารถทำงานการ์ด AGP และทำให้ไมโครโพรเซสเซอร์ไม่ทำงานอื่น ในส่วนผู้ผลิตการ์ด AGP มีการ driver พิเศษสำหรับ DirectX

ส่วนประกอบของ
DirectX
-
DirectDraws เป็นอินเตอร์เฟซ สำหรับการกำหนดภาพ 2 มิติ พื้นผิว และการบริหาร buffer
-
Direct3D เป็นอินเตอร์เฟซสำหรับการสร้างภาพ 3 มิติ
-
DirectSound เป็นอินเตอร์เฟซสำหรับการเชื่อมโยงเสียงกับภาพ
-
DirectPlay เป็น plug-in สำหรับผู้ใช้
-
DirectInput เป็นอินเตอร์เฟซสำหรับการนำเข้าจากอุปกรณ์ I/O
DOWNLOAD DirectX
http://support.microsoft.com/gp/DOWNLOADOVER#tab8

Display (display mode หรือ Video Display)
Display (จอภาพ) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเริ่มเป็นแบบสีเดียว เพื่อใช้กับงานประเภท Word Processor ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ในปี 1981 IBM แนะนำ Color Graphics Adapter (CGA) ซึ่งจอภาพชนิดนี้สามารถใช้ได้ 4 สี มีความละเอียดสูงสุด 320 pixel ในแนวนอน และ 200 Pixel ในแนวตั้ง แต่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน

ปี 1984
IBM แนะนำจอภาพแบบ Enhanced Graphics Adapter (EGA) ซึ่งสามารถใช้สีได้ 16 สี และเพิ่มความละเอียดเป็น 640 Pixel ในแนวนอนและ 350 pixel ในแนวตั้ง การปรับปรุงนี้ทำให้การอ่านตัวหนังสือดีกว่า CGA แต่ EGA ยังไม่เพียงพอกับงานประเภทการออกแบบด้านกราฟฟิกและสิ ่งพิมพ์ ปี 1987 IBM แนะนำ ระบบจอภาพแบบ Video Graphics Array (VGA) จอภาพระบบนี้ได้รับการยอมรับเป็นมาตรฐานของเครื่องคอ มพิวเตอร์ส่วนบุคคล ความละเอียดสูงสุด จำนวนสีที่ใช้ 16 สี ที่ 640 X 480 pixel หรือ 256 สีที่ขั้นต่ำ 320 X 200 pixel

ปี 1990
IBM แนะนำจอภาพแบบ Extended Graphics Array (XGA) โดยเวอร์ชัน XGA-2 ที่ความละเอียด 800 X 600 pixel ใช้สี true color (16 ล้านสี) และ 1,024 X 768 pixel ที่ 65,536 สี จอภาพคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบันได้ระบุถึงจอภาพ แบบ Super Video Graphics Array (SVGA) SVGA มีความหมายว่าเหนือกว่า "VGA" ซึ่งมีมาตรฐานหลายมาตรฐาน ในช่วงที่ผ่านมา Video Electronics Standard Association ได้ตั้งมาตรฐานโปรแกรมอินเตอร์เฟซ สำหรับจอภาพ SVGA เรียกว่า VESA BIOS Extension ความปกติจอภาพแบบ SVGA สามารถสนับสนุนสีได้ 16 ล้านสี ถึงแม้ว่า Video Memory ของเครื่องคอมพิวเตอร์บางส่วนอาจจะจำกัดจำนวนสีในการ แสดงออกมา ความละเอียดมีหลายระดับ ภาพขนาดใหญ่ (วัดตามด้านทแยงมุมของจอภาพ) จะมีความละเอียดมากกว่า เช่น จอภาพขนาด 14 นิ้ว สามารถกำหนดความละเอียดได้ 800 pixel ตามแนวนอน และ 600 pixel ตามแนวตั้ง จอภาพขนาด 20นิ้ว สามารถกำหนดความละเอียดได้ 1,280 x 1,024 pixel บางครั้งจะได้ 1,600 X 1,200 pixel

Display adapter
Video adapter (สามารถเรียกว่า display adapter หรือ video board) เป็นการ์ดวงจรรวมในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือในบางกรณี monitor จะให้สัญญาณแบบ digital-to-analog conversion, video RAM และ video controller เพื่อทำให้ข้อมูลสามารถส่งไปยังจอภาพด้วยการ refresh ที่คงที่ ในปัจจุบันจอภาพ และ video adapter ส่วนใหญ่ทำตามมาตรฐาน Video Graphics Array (VGA) โดย VGA กำหนดการส่งข้อมูลที่สำคัญคือ สีแดง เขียว และน้ำเงินระหว่างคอมพิวเตอร์และจอภาพ และอธิบายอัตราการ refresh ภาพเป็น hertz ทำให้เจาะจงจำนวนและความกว้างของเส้นแนวนอน ซึ่งที่สำคัญคือ ความละเอียด (Resolution) VGA สนับสนุนความละเอียด 4 แบบ และการ refresh ภาพ 2 อัตรา

นอกจากนี้
VGA แล้ว จอภาพโดยส่วนยังใช้มาตรฐานของ Video Electronics Association (VESA local bus) ซึ่ง VESA ให้คำจำกัดความ การแสดงของซอฟต์แวร์ เป็นการตั้งค่าความละเอียดนอกเหนือจาก VGA ความละเอียดเหล่านี้รวมถึง 800 x 600, 1024 x 768, 1280 x 1024 และ 1600 x 1200 พิกเซล

DLL (Dynamic Link Library)
ในคอมพิวเตอร์
dynamic link library เป็นกลุ่มของโปรแกรมขนาดเล็ก ซึ่งแต่ละโปรแกรมสามารถเรียกไปใช้ โดยโปรแกรมที่ใหญ่กว่า เมื่อมีการใช้งานในคอมพิวเตอร์ โปรแกรมขนาดเล็กให้โปรแกรมที่ใหญ่กว่าติดต่อกับ อุปกรณ์พิเศษ เช่น เครื่องพิมพ์ ซึ่งเป็นกลุ่มโปรแกรมในโปรแกรม DLL (ปกติ อ้างถึงในฐานไฟล์ DLL) ไฟล์ DLL สนับสนุนการทำงานของอุปกรณ์เฉพาะรู้จักในชื่อของ device driver ไฟล์ DLL มีข้อได้เปรียบเพราะไม่ต้องโหลดไปสู่หน่วยความจำชั่ว คราว (RAM) พร้อมกับโปรแกรมหลัก จึงเป็นการประหยัดหน่วยความจำ เมื่อต้องการไฟล์ DLL จึงมีการโหลดและใช้งาน เช่น ผู้ใช้กำลังใช้ Microsoft word ในการแก้ไขเอกสาร ไฟล์ DLL ของเครื่องพิมพ์จะยังไม่มีการโหลดไปยังหน่วยความจำชั ่วคราว (RAM) เมื่อผู้ใช้ตัดสินใจสั่งพิมพ์เอกสาร ดังนั้น Microsoft Word จึงทำให้มีการโหลดไฟล์ DLL ของเครื่องพิมพ์และทำงาน

ไฟล์
DLL มีนามสกุล ".dll" ไฟล์ DLL เป็นเชื่อมกับโปรแกรมที่เรียกในระหว่างที่โปรแกรมกำล ังประมวลผล มากกว่าการคอมไพล์โปรแกรมหลัก กลุ่มของไฟล์ DLL เป็นสิ่งที่เปรียบเทียบได้กับ library routine ที่มีใช้กับภาษาโปรแกรม เช่น C และ C++



Data
1. ในการคำนวณ ข้อมูล (
data) เป็นสารสนเทศ (information) ที่สามารถแปลเป็นรูปแบบที่สะดวกในการเคลื่อนย้าย หรือประมวลผล สัมพัทธ์กับคอมพิวเตอร์ และตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูล เป็นสารสนเทศที่แปลงเป็นรูปแบบ binary หรือ ดิจิตอล

2. ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ติดต่อภายในหรือ การสื่อสารผ่านเครือข่าย ข้อมูลมักจะแยกจาก "
control information", "control bits" และคำที่คล้ายกันในการชี้หน่วยการส่งเนื้อหาหลัก

3. ในด้านโทรคมนาคม ข้อมูลบางครั้งหมายถึง สารสนเทศ ของรหัสแบบดิจิตอล ที่แยกจากสารสนเทศของรหัสแบบอะนาล็อก เช่น โทรศัพท์แบบดั้งเดิม โดยทั่วไป อะนาล๊อก หรือเสียง (
voice) มีการส่งผ่านที่ต้องการ การติดต่อที่ต่อเนื่อง สำหรับการกำหนดเวลาของชุดการส่งที่สัมพันธ์กัน การส่งผ่านข้อมูล สามารถส่งด้วยการติดต่อแบบเป็นช่วงในรูปของแพ็คเกต

4. โดยทั่วไป และในวิทยาศาสตร์ ข้อมูลหมายถึง ตัวของข้อเท็จจริง
data ที่มีจากภาษา ลาติน ซึ่ง data เป็นรูปพหูพจน์ของ "datum" โดยการใช้รูปพหูพจน์ "data" แต่การใช้ "datum" พบน้อยมาก และมีการใช้ "data" ในความหมายเอกพจน์

DOS
DOS (Disk Operating System) เป็นระบบปฏิบัติการ ที่ได้รับติดตั้งอย่างกว้างขวางในเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล

DOS สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล รุ่นแรก เรียกว่า Personal Computer-Disk Operating System ได้รับการพัฒนาให้กับ IBM โดย Bill Gates ซึ่งเขาได้รับสิทธิในการขายในเวอร์ชัน Microsoft เรียกว่า MS-DOS โดยที่ PC-DOS และ MS-DOS ได้รับอ้างถึงในชื่อ DOS ระบบปฏิบัติการ DOS เป็นระบบคำสั่งแบบ line command ซึ่งจะมี Prompt สำหรับการป้อนคำสั่ง
C:\>

ระบบปฏิบัติการ
Windows รุ่นแรกโดยความจริงแล้วเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบ น MS-DOS ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการ Windows ยังคงให้การสนับสนุน DOS สำหรับการทำงานในวัตถุประสงค์พิเศษที่ต้องใช้ระบบปฏิ บัติการ DOS

DDR SDRAM
DDR SDRAM หรือ Double Data Rate SDRAM หรือ ดีดีอาร์เอสดีแรม หรือ ดีดีอาร์ คือ เอสดีแรม (SDRAM) ที่ตามทฤษฎีแล้ว สามารถพัฒนาให้สามารถทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นถึง 200MHz (เมกะเฮิร์ตซ) และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณคล็อก เทียบกับเอสดีแรมปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นขอ งสัญญาณคล็อกเพียงด้านเดียว

DRAM
Dynamic Random Access Memory หรือ DRAM หรือ ดีแรม คือ แรม (Random Access Memory; RAM) หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและ เครื่องเวิร์คสเตชั่น (Workstation) หน่วยความจำคือเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพ ิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ

Random Access หรือ การเข้าถึงแบบสุ่ม หมายถึง โปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือ พื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่ต้องการเรียงตามลำดับจาก จุดเริ่มต้น

DRAM คือไดนามิก ซึ่งตรงกันข้ามกับ SRAM หรือ สแตติกแรม (Static RAM); DRAM ต้องการการรีเฟรช (Refresh) เซลเก็บข้อมูล หรือการประจุไฟ (Charge) ในทุกๆช่วงมิลลิวินาที ในขณะที่ SRAM ไม่ต้องการการรีเฟรชเซลเก็บข้อมูล เนื่องจากมันทำงานบนทฤษฎีของการเคลื่อนที่ของกระแสไฟ ฟ้าซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ทิศทาง ไม่เหมือนกับเซลเก็บข้อมูลซึ่งเป็นเพียงตัวเก็บประจุ ไฟฟ้าเท่านั้น โดยทั่วไป SRAM มักจะถูกใช้เป็นหน่วยความจำแคช (Cache Memory) ซึ่งโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่า

DRAM จะเก็บทุกๆบิตในเซลเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบขึ้นด้วยกลุ่มตัวเก็บประจุ (คาปาซิเตอร์; Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) คาปาซิเตอร์จะสูญเสียประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว และนั่นเป็นเห็นเหตุผลว่า ทำไม DRAM จึงต้องการการรีชาร์ต

ปัจจุบัน มีแรมมากมายหลากหลายชนิดในท้องตลาด เช่น
EDO RAM, SDRAM และ DDR SDRAM เป็นต้น

DVD Audio
DVD Audio หรือ ดีวีดีออดิโอ คือฟอร์แมตมาตรฐานสำหรับข้อมูลเสียง ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD ในปัจจุบัน อาทิ ระบบ Dolby Digital AC-3 และระบบเสียงเซอร์ราวด์ บันทึกเสียงได้นานสุดถึง 2 ชั่วโมงเต็ม ทั้งยังซัพพอร์ตเทคโนโลยีป้องกันการก็อปปี้ข้อมูลหรื อขโมยข้อมูลด้วย

DVD Video
DVD Video หรือ ดีวีดีวีดีโอ คือฟอร์แมตมาตรฐานที่ใช้กันใน ฮอลลีวูด (Hollywood) หรือในวงการภาพยนตร์ เพื่อการบันทึกข้อมูลภาพ ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง รวมถึงข้อมูลเสียง แน่นอนว่ามีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD และมีความจุสูงสุดประมาณ 17 กิกะไบต์

DVD+RW
DVD+RW เป็นเทคโนโลยีที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นโดยบริษัทฮิวเลตต์แ พคการ์ด, มิตซูบิชิ, ฟิลิปส์, ริโค, โซนี่, เดลล์, คอมแพค และยามาฮา ซัพพอร์ตการ Re-Writable และสามารถใช้ได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD และไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถใช้เขียนหรืออ่านแผ่น DVD-RAM ได้ แต่กับแผ่น CD-R และ CD-RW ไม่มีปัญหา เพราะเทคโนโลยีนี้มีพื้นฐานเดียวกับ CD-R และ CD-RW มีความจุ 4.7GB ต่อหน้า สามารถเขียนทับได้กว่า 1,000 ครั้ง ส่วนเวอร์ชั่นที่สามารถ Re-Writable ได้ครั้งเดียวนั้น จะเรียกว่า DVD+R

DVD-R
DVD-R หรือ ดีวีดี-อาร์ เป็นมาตรฐานดีวีดีซึ่งคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยบริษัทไพ โอเนียร์ (Pioneer) มีความจุ 4.7GB (กิกะไบต์) ต่อหน้า คุณสมบัติจะคล้ายกับ DVD-ROM คือใช้เขียนได้ครั้งเดียว แรกเริ่มเดิมทีตั้งใจจะพัฒนาขึ้นมาสำหรับผู้ใช้ระดับ โปรเฟสชั่นแนลเท่านั้นภายใต้มาตรฐาน DVD-R (A) แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเวอร์ชั่นสำหรับผู้ใช้ทั่วไ ปออกมาร่วมทำตลาดด้วยภายใต้มาตรฐาน DVD-R (G) ข้อแตกต่างระหว่าง 2 เวอร์ชั่นก็คือ เวอร์ชั่น A จะซัพพอร์ตการทำมาสเตอริ่งและมีเทคโนโลยีป้องการก็อป ปี้ข้อมูล ขณะที่เวอร์ชั่น G ไม่มี คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของ DVD-R ก็คือ สามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD ทั่วไปและไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์

DVD-RAM
DVD-RAM หรือ ดีวีดีแรม เป็นเสมือนหนึ่งฮาร์ดดิสก์ มีการอ่านเขียนข้อมูลแบบสุ่มหรือแรนดอม (Random) เดิมมีความจุเพียง 2.6GB ต่อหน้า แต่ถูกปรับปุรงให้เป็น 4.7GB ต่อหน้าในภายหลัง และในปัจจุบันแผ่น DVD-RAM แบบดับเบิลไซด์จะมีความจุสูงสุดถึง 9.4GB สามารถเขียนทับได้มากกว่า 100,000 ครั้งโดยไม่ต้องรีฟอร์แมตก่อน อย่างไรก็ตาม DVD-RAM มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถเล่นกับเครื่องเล่น DVD หรือไดร์ฟ DVD-ROM ได้ จำเป็นต้องเล่นกับไดร์ฟ DVD-RAM โดยเฉพาะเท่านั้น

DVD-ROM
DVD-ROM หรือ ดีวีดีรอม รายละเอียดเชิงเทคนิคโดยทั่วไปจะเหมือนกันกับ DVD Video คือฟอร์แมตมาตรฐานที่ใช้กันใน ฮอลลีวูด” (Hollywood) หรือในวงการภาพยนตร์ เพื่อการบันทึกข้อมูลภาพ ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง รวมถึงข้อมูลเสียง มีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD และมีความจุสูงสุดประมาณ 17 กิกะไบต์ แต่ที่พิเศษกว่าคือ สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย เพื่อการบันทึกข้อมูลประเภทดาต้าอื่นๆ

DVD-RW
DVD-RW หรือ ดีวีดี-อาร์ดับเบิลยู เป็นมาตรฐานที่พัฒนาต่อยอดจาก DVD-R ให้มีความสามารถทั้งอ่านและเขียน มีความจุ 4.7GB (กิกะไบต์) ต่อหน้า สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำ (Re-Written) ได้ประมาณ 1,000 ครั้ง และสามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD ทั่วไปและไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับ DVD-R

EEPROM
EEPROM หรือ Ectrically Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ อีเอ็ปรอม คือหน่วยความจำรอม (ROM) ที่ผู้ใช้สามารถลบหรือแก้ไขหรือเขียนซ้ำข้อมูลที่บรร จุอยู่ภายในได้ และสามารถกระทำซ้ำได้หลายครั้ง โดยอาศัยแอพพลิเคชั่นที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่าปกติ EEPROM จะต่างจาก EPROM ตรงที่ไม่จำเป็นต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่ อทำการแก้ไขข้อมูล การลบข้อมูลใน EEPROM จะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมด ไม่สามารถเลือกลบเฉพาะบางส่วนได้ อย่างไรก็ตามมันมีอายุการใช้งานจำกัดขึ้นอยู่กับจำนว นครั้งในการลบหรือแก้ไขข้อมูล เช่น 10 ครั้งหรือ 100 ครั้ง รูปแบบพิเศษของ EEPROM คือหน่วยความจำแฟลช (Flash Memory) ซึ่งใช้ระดับไฟปกติในเครื่องพีซีสำหรับการลบหรือเขีย นหรือแก้ไขข้อมูล

FAT & FAT32
FAT (File Allocation Table) เป็นตารางแผนที่ของ คลัสเตอร์ (คลัสเตอร์ เป็นหน่วยพื้นฐานด้านการเก็บแบบ logical บนฮาร์ดดิสก์) ที่ระบบปฏิบัติการใช้ในการควบคุมฮาร์ดดิสก์ เพื่อทำให้ทราบถึงตำแหน่งไฟล์ที่เก็บอยู่ เมื่อมีการเขียนไฟล์ใหม่ลงบนฮาร์ดดิสก์ ถ้าไฟล์มีขนาดใหญ่ 1 คลัสเตอร์ การเก็บอาจจะไม่เก็บในคลัสเตอร์ที่ต่อกัน แต่อาจจะกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของฮาร์ดดิสก์ ขนาดคลัสเตอร์ (มาตรฐาน) ปกติ มีขนาด 2,048 ไบต์ 4,096 ไบต์ 8,192 ไบต์ ระบบปฏิบัติการจะสร้าง FAT entry สำหรับไฟล์ใหม่ เพื่อบันทึกคลัสเตอร์แต่ละคลัสเตอร์ที่เก็บและลำดับค วามต่อเนื่อง เมื่อมีการอ่านไฟล์ระบบปฏิบัติการจะทำการประกอบไฟล์จ ากคลัสเตอร์ต่าง ๆ เพื่อเรียกไฟล์มาใช้งาน

DOS และ Windows ใช้ FAT ขนาดความยาว 16 บิต ทำให้จำกัดขนาดฮาร์ดดิสก์ที่ขนาด 128 เมกกะไบต์ โดยมีคลัสเตอร์ 2,048 ไบต์ Windows 95 OSR2 สามารถสนับสนุนได้ถึง 512 เมกกะไบต์

โดยใช้ขนาดคลัสเตอร์ 8
,192 แต่ต้นทุนการใช้คลัสเตอร์ขาดประสิทธิภาพ DOS 5.O และเวอร์ชันต่อมาสามารถสนับสนุนฮาร์ดดิสก์ได้ถึง 2 กิกะไบท์ FAT ขนาด 16 บิต โดยการแบ่งออกเป็น 4 พาร์ติชัน

เมื่อมีการใช้
FAT32 ทำให้ Windows 95 OSR2 สามารถสนับสนุนฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ ได้ถึง 2 เทอร์ร่าไบต์ อย่างไรก็ตามผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล สามารถได้ประโยชน์จาก FAT32 ด้วยการใช้ไดรพ์ขนาด 5 หรือ 10 กิกะไบต์

Font
font เป็นกลุ่มของตัวอักษรข้อมูลที่พิมพ์ได้ หรือแสดงผลได้ที่กำหนดแบบและขนาด ประเภทการออกแบบสำหรับชุด font คือ typeface และการแปรผันของการออกเพื่อสร้างเป็น typeface family เช่น Helvetica เป็น typeface family, Helvetica italic เป็น typeface และ Helvetica italic 10-piont คือ font ในทางปฏิบัติ font และ typeface ใช้โดยไม่เน้นความแม่นยำ outline font เป็น ซอฟต์แวร์ typeface ที่สามารถสร้างช่วงขนาดของฟอนต์ bitmap font เป็นการนำเสนอแบบดิจิตอลของฟอนต์ที่มีขนาดตายตัว หรือจำกัดกลุ่มของขนาด ซอฟต์แวร์ outline font ที่นิยมมาก 2 โปรแกรมปัจจุบัน คือ true type และ adobe's type 1โดยฟอนต์ true type มากับระบบการ Windows และ Macintosh ส่วน type 1 เป็นมาตรฐาน outline font (ISO 9541) ทั้งฟอนต์ true type และ type 1 สามารถใช้กับเครื่องพิมพ์ adobe's postscript (ถึงแม้ว่า) adobe พูดว่าฟอนต์ type 1 สามารถใช้ได้เต็มที่กับภาษา post script

Ghost
ghostมีที่มาจากคำอังกฤษ เก่า "gast" และมีความหมายวิญญาณหรือผี ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความหมายเฉพาะ คือ

1.
Ghost เป็นสินค้าของ Symantec ใช้การโคลน (Clone) หรือก๊อปปี้ข้อมูลและรายละเอียดในฮาร์ดดิสก์ไปยังฮาร ์ดดิสก์ตัวอื่น จะทำการ Format และสร้าง partition ในฮาร์ดดิสก์เป้าหมาย สินค้าตัวนี้เหมาะสมในการใช้งานในการถ่ายเทระบบจากต้ นแบบ ไปยังคอมพิวเตอร์จำนวนหลาย ๆ เครื่อง

2. บนเว็บประเภท
live chat medium นั้น Internet relay chat เป็น ghost ที่ทำให้เครื่องแม่ข่ายผู้ใช้ถอนตัวจากห้องนั้นยังติ ดต่อกับเครื่องแม่ข่าย

3.
Ghostscript เป็นโปรแกรมของระบบ UNIX ที่แปลไฟล์แบบ Postscript เพื่อนำไปใช้กับโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง

GIF
GIF เป็นหนึ่งในสองของไฟล์ภาพกราฟฟิกบน world wide web ไฟล์อีกประเภท คือ JPEG บนเว็บและที่ต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต (เช่น bulletin board ) GIF ได้เป็นมาตรฐานรูปแบบของภาพ อัลกอริทึมการบีบอัด LZW ใช้ในฟอร์แมต GIF เป็นของ Unisys และบริษัทที่สร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากอัลกอริ ทึม LXW (รวมถึงฟอร์แมต GIF) ต้องขออนุญาตจาก Unisys ในทางปฏิบัติ Unisys ไม่ต้องการให้ผู้ใช้ภาพ GIF ขอใบอนุญาต ถึงแม้ว่าข้อความ การอนุญาตจะชี้ถึงความต้องการ Unisys กล่าวว่าการขออนุญาตไม่จำเป็นรวมถึงค่าธรรมเนียม ในทางเทคนิค GIF ใช้ประเภทข้อมูล 2 D raster ในเข้ารหัสเป็น binary และใช้การบีบอัด LZW มีฟอร์แมตอยู่ 2 เวอร์ชัน คือ 87a และ GIF 89a เวอร์ชัน 89a (กรกฎาคม1989) ยินยอมสำหรับการใช้ animated GIF ซึ่งเป็นภาพต่อเนื่องสั้น ๆ ภายในไฟล์ GIF เดี่ยว GIF 89a สามารถได้รับการสำหรับการนำเสนอ interlaced GIF

ฟอร์แมต
portable network graphics ได้มาแทนที่ GIF โดยได้รับการพัฒนาโดยคณะกรรมการอินเตอร์เน็ตและผู้ผล ิต browser รายใหญ่ อย่างไรก็ตามผู้ดาวน์โหลดไฟล์ GIF และผู้สร้าง web site ยังไม่ต้องขออนุญาตจาก Unisys สำหรับการอัลกอริทึมนี้

Gigahertz
gigahertz (กิกะเฮิร์ตซ์) ตัวย่อ GHz เป็นหน่วยของความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับหนึ่งพันล้านเฮิร์ตซ์ (1,000,000,000 Hz) gigahertz ได้รับการใช้เป็นตัวชี้ความถี่ของ ultra-high-frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ (microwave) และรวมถึงในบางคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร์

ความถี่ 1
GHz ของสัญญาณ EM มีความยาวคลื่น 300 มิลลิเมตร หรือสั้นกว่าเท้าเล็กน้อย ความถี่ 100 GHz ของสัญญาณ EM มีความยาวคลื่น 3 มิลลิเมตร ซึ่งเกือบเท่ากับ 1/8 นิ้ว การส่งผ่านคลื่นวิทยุได้การทำความถี่ได้ถึงหลายร้อย gigahertz ความเร็วนาฬิกาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกำลังเพิ่มขึ้นเด ือนต่อเดือนในฐานะความล้ำหน้าของเทคโนโลยี และถึงจุด 1 GHz ในเดือนมีนาคม 2543 ด้วยโพรเซสเซอร์ของ AMD ตามด้วย 1 GHz Pentium 3 จาก Intel

หน่วยความถี่อื่นที่ใช้ทั่วไป คือ
kHz เท่ากับ 1,000 Hz หรือ 0.000001 GHz และ MHz เท่ากับ 1,000,000 Hz หรือ 0.001 GHz

GPRS
General Packet Radio Services (GPRS) เป็นบริการด้านการสื่อสารไร้สายแบบแพคเก็ตที่ยอมให้อ ัตราข้อมูลจาก 56 ถึง 114 kbps และการเชื่อมต่อเนื่องกับอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้โท รศัพท์และคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ อัตราข้อมูลสูงกว่าจะยอมให้ผู้ใช้เข้าร่วมการประชุมท างไกล (video conference) และปฏิสัมพันธ์กับเว็บมัลติมีเดียและโปรแกรมประยุกต์ คล้ายกันด้วยการใช้อุปกรณ์ handheld เคลื่อนที่และคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค GPRS มีพื้นฐานบนการสื่อสารแบบ Global System for Mobile (GSM) และจะทำให้บริการสมบูรณ์ เช่น การเชื่อมต่อโทรศัพท์เซลลูลาร์ด้วย circuit-switched และ Short Message Service (SMS)

ในทางทฤษฎี การบริการ
GPRS จะเป็นต้นทุนกับผู้ใช้น้อยกว่าบริการ circuit-switched เพราะช่องการสื่อสารกำลังใช้บนการใช้ร่วม ตามแพคเก็ตที่จำเป็นแทนที่การใช้ 1 ผู้ใช้ต่อครั้ง รวมทั้งทำให้การประยุกต์มีให้ง่ายกว่ากับผู้ใช้โทรศั พท์เคลื่อนที่เพราะอัตราข้อมูลเร็วกว่าหมายความว่าปั จจุบัน ตัวกลางต้องปรับการประยุกต์ให้ความเร็วของระบบไร้สาย ช้าลงจะไม่มีความต้องการ เมื่อมี GPRS ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือของ virtual private network (VPN) จะทำให้สามารถเข้าถึงเครือข่ายส่วนตัวอย่างต่อเนื่อง มากกว่าการเชื่อมต่อแบบหมุน

GPRS จะทำให้ Bluetooth โดยมาแทนที่การเชื่อมต่อด้วยสายระหว่างอุปกรณ์กับการ เชื่อมต่อวิทยุไร้สาย นอกจากนี้ Internet Protocol (IP) โดย GPRS สนับสนุน X.25 ที่เป็นโปรโตคอลแพคเก็ตที่ใช้ในยุโรปส่วนใหญ่ GPRS ได้ปฏิรูปเข้าไปสู่ Data GSM Environment (EDGE) และ Universal Mobile Telephone Service (UMTS)

Hard disk
hard disk เป็นอุปกรณ์ที่เก็บและให้เข้าถึงข้อมูลที่เก็บไว้อย่ างรวดเร็ว บนผิวหรือกลุ่มที่ผิวแบบอิเลคโทรแมกเนติด (electro magnetically charge surface) ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ เป็นอุปกรณ์มาตรฐานและมีความสามารถในการเก็บข้อมูลเป ็นกิกะไบต์ (อาจจะเรียกว่า Disk Drive, Hard drive, Hard disk drive)

ฮาร์ดดิสก์ โดยความเป็นจริงแล้วเป็นกลุ่มของ
Stacked (Disk) คล้ายกับ แผ่นเสียงแบบ Phonograph มีข้อมูลที่บันทึกในแทรคบนดิสก์ หัวอ่านมี 2 หัว อยู่คนละด้านของดิสก์ จะบันทึกหรืออ่านสารสนเทศบนแทรค โดยการอ่านหรือเขียนทำได้เมื่อดิสก์หมุน การอ่านหรือการเขียนแต่ละครั้งต้องหาที่เก็บข้อมูล ถ้าข้อมูลเก็บไว้ที่แคชของดิสก์ การค้นหาจะทำได้เร็วมาก

ฮาร์ดดิสก์ จะกำหนดค่าการหมุนด้วยความเร็วที่แปรผันจาก 4
,500 ถึง 7,200 rpm เวลาของการเข้าถึงดิสก์ วัดด้วยหน่วย millisecond ถึงแม้ว่าตำแหน่งทางกายภาคสามารถบอกเป็นลักษณะทรงกระ บอก แทรค และ Sector แต่การ map เป็นการ map แบบ logical block address (LBA) เพื่อการทำงานด้วยช่วงของตำแหน่งขนาดใหม่

Home page
home page
1. สำหรับผู้ใช้เว็บ
home page คือ เว็บเพจแรกที่ปรากฏหลังจากเริ่มใช้ web browser เช่น Netscape Navigator หรือ Microsoft Internet Explorer ซึ่ง browser มักจะได้รับการตั้งค่าก่อน ดังนั้น home page คือ เพจแรกของผู้ผลิต browser อย่างไรก็ตามผู้ใช้สามรถตั้งค่าการเปิด web site อื่น ๆ ได้ เช่น การระบุเป็น "http://yahoo.com" หรือ "http://www.widebase.net" เป็น home page ของผู้ใช้ และสามารถระบุเป็นหน้าว่างได้ สำหรับกรณีที่เลือกเพจแรกจาก รายการ book mark หรือ ป้อน address ของเว็บ

2. สำหรับผู้พัฒนา
web site, home page ซึ่งเป็นเพจแรกที่ปรากฏเมื่อผู้ใช้เลือก site หรือ presence บน world wide web ซึ่ง address ของ web site คือ address ของ home page ถึงแม้ว่าผู้ใช้สามรถป้อน address (URL) ของทุกเพจ และมีการส่งเพจมาให้

keyboard
คอมพิวเตอร์ส่วนมาก
keyboard (คีย์บอร์ด) เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อความ (เมาส์ เป็นอุปกรณ์นำเข้า แต่ขาดความสามารถส่งผ่านสารสนเทศข้อความได้ง่าย ) คีย์บอร์ดมีแป้นฟังก์ชั่นมาตรฐาน เช่น Escape, Tab และแป้นเคลื่อนที่ Shift และ Control บางครั้งผู้ผลิตอาจจะปรับปรุงแป้นตามความเหมาะสม

คีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์ ใช้การจัดแป้นแบบกลไกและอีเลคโทรนิคส์ มาตรฐาน การจัดตัวอักษรบนแป้น เรียกว่า
Qwerty keyboard มีที่มาจากการจัด 5 แป้นที่ด้านบนซ้ายของ 3 แถว ของแป้นพยัญชนะ การคิดค้นนี้เกิดขึ้นจากเครื่องพิมพ์แบบ

กลไกยุคแรกในช่วงปี 1870 การจัดแป้นพิมพ์อีกแบบ คือ
Dvorak system ซึ่งออกแบบให้ง่ายในการเรียน และใช้ Dvorak keyboard ได้รับการออกแบบมีการจัดที่สอดคล้องกัน แต่ Dvorak key board ไม่มีการใช้ที่แพร่หลาย เนื่องจากผลต่อสุขภาพจากใช้คีย์บอร์ด ทำให้มีการพัฒนาคีย์บอร์ดแบบ ergonomic

Linux
Linux (ออกเสียงว่า LIH-nuhks) เป็นระดับปฏิบัติการคล้าย Unix ที่ได้รับการออกแบบสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยไม่มีใช้จ่ายหรือราคาต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับระบบป ฏิบัติการ Unix ที่แพงกว่า Linux มีชื่อเสียงว่าเป็นระบบสมรรถนะสูงและเร็ว kernel ของ Linux (ส่วนกลางของระบบปฏิบัติการ) ได้รับการพัฒนาโดย Linus Torvalds ที่ University of Helsinki ในฟินแลนด์ Torvalds และเพื่อนร่วมงานทำการใช้การพัฒนาส่วนประกอบระบบโดยส มาชิกของ Free Software Foundation สำหรับโครงการ GNU

Linux เป็นระบบปฏิบัติการสมบูรณ์แบบ รวมถึง graphical user interface, X Window System, TCP/IP, Emacs editor และส่วนประกอบอื่นที่พบได้ในสภาพแวดล้อมระบบ Unix ถึงแม้ว่าลิขสิทธิมีการอยู่โดยผู้สร้าง component ของ Linux หลากหลาย Linux ได้รับการกระจายด้วยการใช้ข้อกำหนดลิขสิทธิของ Free Software Foundation ที่หมายความว่าเวอร์ชันปรับปรุงที่ได้รับการกระจายซ้ ำต้องฟรี

ต่างจาก
Windows และระบบต่อพ่วงอื่น Linux เป็นระบบเปิดและขยายโดยผู้บริจาค เพราะสิ่งนี้ทำตามผู้ใช้มาตรฐาน Portable Operating System Interface และอินเตอร์เฟซโปรแกรม ผู้พัฒนาสามารถเขียนโปรแกรมที่สามารถส่งไปยังระบบปฏิ บัติการอื่น Linux มาในเวอร์ชันสำหรับแพล็ตฟอร์มหลักทั้งหมดรวมถึงแพล็ต ฟอร์ม Intel, PowerPC, Sparc และ Alpha รวมถึง S/390 ของ IBM การกระจาย Linux เชิงพาณิชย์โดยบริษัทจำนวนหนึ่ง มีนิตยสาร Linux Journal รวมถึงหนังสือและหนังสืออ้างอิงจำนวนหนึ่ง

บางครั้ง
Linux ได้รับการแนะนำว่าเป็นทางเลือกในการพัฒนาสาธารณะกับเ ครื่องคอมพิวเตอร์ที่ครอบงำโดย Windows ของ Microsoft ถึงแม้ว่า Linux ได้รับความนิยมท่ามกลางผู้ใช้ที่คุ้นเคยกับ Unix แต่ยังคงห่างไกลจาก Windows ในด้านจำนวน อย่างไรก็ตาม การใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่กำลังเติบโต

Linux เป็นต่อเชื่อม Linus' Unix โดยนิยมเสียง i สั้นโดยมาก (รวมถึง Torvalds) มาจากการออกเสียง Linus ของชาวสวีเดน



From widebase&thaiware